นอนกรน

นอนกรน pantip

นอนกรน อาการที่เกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจส่วนต้น เกิดการตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจที่ผ่านเข้ามาผ่านช่องที่แคบนี้ เกิดการกระพือ และกลายเป็นเสียงกรนขึ้น ซึ่งปกติเมื่อคนเรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีการหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในช่องทางเดินหายใจของคนเราจะมี เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ก็จะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่นอนหงาย เมื่อช่องทางเดินหายใจแคบลงเมื่อหายใจเข้าลมที่ผ่านช่องแคบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระพือ เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการกระพือหรือสั่นสะเทือนก็จะเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกรน pantip โดยที่เสียงกรนของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนในลำคอ หรือถ้าเกิดการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนแบบขึ้นจมูก เป็นต้น

สาเหตุของการนอนกรนเกิดจากอะไร ?

  • เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน โดยดูจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  • เกิดจากไขมันในช่องคอหนา
  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้
  • เมื่ออายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • เกิดจากความเหนื่อยล้า
  • ในกรณีที่นอนหงายเป็นประจำก็จะเกิดอาการนอนกรน
  • จมูกคด จมูกตีบตัน เนื่องจากอาการภูมิแพ้ การรับประทานยาบางชนิด ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ หรือสรีระที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นคางเล็ก ลิ้นไก่ใหญ่กว่าปกติ โคนลิ้นที่อ้วน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการนอนกรน

ประเภทของการนอนกรน มีอะไรบ้าง ?

อาการนอนกรนของคนเรานั้น ทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ นอนกรนธรรมแบบธรรมดา และการนอนกรนแบบอันตราย ซึ่งการนอนกรนแบบอันตรายจะมีผลเสียต่อสุขภาพของร่างกายของคนเราได้ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  • นอนกรนแบบธรรมดา เป็นเสียงนอนกรนที่จะสร้างความรำคาญแต่ก็ไม่ได้ส่งผลเสียที่ร้ายแรงต่อร่างกายแต่อย่างใด อาการนอนกรน pantipประเภทนี้จะเกิดจากการตีบแคบของช่องทางเดินหายใจเพียงบางส่วน แต่ไม่ได้ปิดสนิททั้งหมด ดังนั้นยังมีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายเราได้ แต่ช่องคอที่แคบทำให้เกิดการสั่นสะเทือน เกิดเป็นเสียงกรนดัง และเมื่อตื่นขึ้นมาผู้ที่มีอาการกรนจะเกิดอาการคอแห้งขึ้นได้
  • นอนกรนแบบอันตราย อาการนอนกรนประเภทนี้จะสืบเนื่องมาจากการที่ผู้นอนกรนมีกล้ามเนื้อในช่องคอที่มีอาการหย่อนตัวลงมากขึ้น ช่องทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ก็จะแคบลงมาจนปิดสนิท และเมื่อช่องทางเดินหายใจปิดสนิทก็จะไม่มีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้เลย เมื่อไม่มีอากาศไหลผ่านก็จะไม่มีการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อ เสียงกรน ก็จะหายไปชั่วขณะ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอันตรายจากการกรนขึ้นแล้ว ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Obstructive Sleep Apnea หรือส่วนมากจะนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยโรคนอนกรน

เมื่อรู้สึกตัวเองว่านอนกรนหรือมีผู้ใกล้ชิดพบว่ามีอาการไม่ว่าจะเป็นการนอนกรนที่มีเสียงดังมาก ง่วงนอนตอนกลางวัน โดยเฉพาะมีอาการสะดุ้งเฮือก คล้าย ๆ คนจมน้ำและสำลักน้ำตอนนอนบ่อย ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดคอยช่วยสังเกต และเมื่อพบอาการควรรีบพบแพทย์ทันที โดยแพทย์ที่จะเข้าพบนั้นจะต้องเป็นแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์หู คอ จมูก (โสต ศอ นาสิกวิทยา) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ (Pulmonologist) หรือแพทย์ระบบสมอง (Neurologist) เป็นต้น ถ้าเป็นไปได้ควรพาผู้ใกล้ชิดที่คอยสังเกตอาการมาพบแพทย์ด้วย ซึ่งจะมีขั้นตอนการวินิจฉัยอาการนอนกรนได้ดังนี้

  • ก่อนพบแพทย์ ทางสถานพยาบาลจะให้ผู้เข้ารับบริการทำแบบสอบถามเบื้องต้นก่อน เพื่อข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและการนอนของท่าน (Medical and sleep history)
  • เมื่อทำแบบสอบถามเรียบร้อยทางสถานพยาบาลจะให้ผู้เข้ารับบริการตรวจร่างกาย เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดชีพจร ความดันโลหิต และวัดเส้นรอบวงคอ เป็นต้น
  • และเมื่อได้เข้าพบแพทย์ผู้เข้ารับบริการควรที่จะต้องอธิบายอย่างละเอียดเพิ่มเติมให้แพทย์ทราบ ซึ่งแพทย์อาจจะขอตรวจร่างกายเพิ่มเติม โดยอาจจะดูสรีระบริเวณ ศีรษะ คอ จมูก และช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น ว่าอาการนอนกรนของท่านเกิดจากสาเหตุอะไร
  • ในบางกรณีแพทย์อาจขอส่องกล้องเพื่อดูช่องทางเดินหายใจอย่างละเอียด
  • และสุดท้ายของการวินิจฉัยของทางการแพทย์คือการที่แพทย์จะให้ผู้เข้ารับบริการเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่าการตรวจ Polysomnography หรือ PSG ซึ่งการทำ Sleep Test นี้สามารถทำได้ทั้งที่สถานบริการพยาบาล และทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ซึ่งการตรวจการนอนกรนด้วยตัวเองที่บ้านนั้นสามารถทำได้ดังนี้

สาเหตุหลัก ๆ ที่ผู้เข้ารับบริการรับการตรวจการนอนที่บ้านนั้นเนื่องจากเมื่อตรวจที่สถานบริการพยาบาลอาจจะนอนไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่ดีอาจทำให้เกิดผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการตรวจการนอนหลับที่บ้านนั้นจะทำให้ผู้ที่ได้รับการตรวจไม่มีความกังวลเพราะเป็นการนอนหลับในสถานที่ที่ตัวเองคุ้นเคยซึ่งจะได้รับผลการตรวจที่แม่นยำกว่า โดยการตรวจที่บ้านนั้นอุปกรณ์จะแตกต่างจากการตรวจในสถานพยาบาล ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์แบบพกพาทั้งหมด เป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กทำให้ผู้เข้ารับการตรวจไม่รู้สึกอึดอัดและไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่กับที่ตลอดเวลา

หากต้องการแก้อาการนอนกรนด้วยตนเองนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

การแก้ไขอาการนอนกรน pantipด้วยตนเองนั้นจะใช้ได้กับอาการนอนกรนแบบธรรมดาที่ไม่มีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งหากมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ท่านต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาตามหลักการแพทย์เท่านั้น โดยวิธีแก้นอนกรนด้วยตนเองจะเป็นดังนี้

  • การนอนกรนนั้นมักจะเกิดกับผู้ที่ชอบนอนหงาย แนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่านอนมาเป็นการนอนตะแคง หรือหากผู้ป่วยบางรายนอนตะแคงไม่ได้จริงๆ ก็ให้นอนหงายแต่พยายามหาอะไรมารองหนุนศีรษะ เพื่อยกระดับศีรษะตอนนอนให้สูงขึ้น ก็พอช่วยได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการออกกำลังกายนี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อในช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ทำให้ขณะที่นอนหลับกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในช่องคอ จะได้ไม่หย่อนลงมาขวางช่องทางเดินหายใจของเราได้
  • ในกรณีที่มีน้ำหนักมากแนะนำให้ทำการลดน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักลดลง ไขมันต่างๆ ในช่องคอก็จะลดลง ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ก่อนเข้านอน และควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ และเกิดการกรนได้
  • แนะนำให้ผู้ที่มีอาการนอนกรนทำการล้างจมูกบ่อย ๆ เพื่อที่จะทำให้จมูกโล่ง ซึ่งเป็นการล้างด้วยน้ำเกลือโดยใช้กระบอกฉีดยาฉีดเข้าทางรูจมูกเป็นประจำก่อนนอน
  • แนะนำให้เพิ่มความชื้นในห้องนอน โดยหาแก้วใส่น้ำมาวางไว้ข้าง ๆ เตียงนอน หรือซื้อเครื่องทำความชื้นมาไว้ในห้องนอน

นอนกรน pantip ปัญหาการนอนกรนนั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เนื่องจากการนอนกรนนั้นจะมีเสียงดัง หากเป็นการนอนกรนแบบที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยแล้วยิ่งเป็นอันตรายมาก สำหรับผู้ที่มีอาการควรต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะในระยะยาว จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของท่านอย่างแน่นอน

transitions-for-women.com

Transitions-for-Women.com

เสริมคาง ด้วยซิลิโคน ทำหน้าเรียว ศัลยกรรม คางสวย ศัลยกรรมเสริมคาง ด้วยซิลิโคน ช่วยให้ใบหน้าดูยืดยาวขึ้นเล็กน้อย ทำให้ดูดี