นอนกรน

นอนกรน รักษา

การนอนกรนนั้นบางรายอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่าอาการนอนกรน (Snoring) นั้น อาจเกิดควบคู่กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea : OSA) ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหู คอ จมูก ได้มีการกล่าวไว้ว่าการนอนกรนนั้นเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ผู้ที่มีอาการนอนกรนนอนหลับไม่สนิท มีการสะดุ้งตื่นเป็นช่วง ๆ โดยคนที่นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ จะมีอาการง่วงมากในช่วงเวลากลางวัน ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันไม่เป็นปกติอาจทำงานได้ไม่เต็มที่ และยังมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคความดันหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ซึ่งผู้มีอาการนอนกรน รักษา จะต้องเข้ารับการตรวจรักษาจากสถานพยาบาลและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาการนอนกรน อันตรายกว่าที่คิด

สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมักจะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่มีอาการทำงานได้ไม่เต็มที่และมีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และยังมีความเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย อาทิ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น โดยที่ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมักจะนอนกรนมาก หรือไม่ก็จะมีอาการรู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม มีการตื่นบ่อยในช่วงเวลานอน ปากแห้ง คอแห้ง หลังตื่นนอนมักรู้สึกง่วงนอนมาก หรือง่วงนอนตอนกลางวัน หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดี หรือมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ สำหรับเด็กที่มีอาการกรนพร้อมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น อาการจะเหมือนกับผู้ใหญ่ และยังมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย มีอาการนอนกระสับกระส่าย และในเด็กบางรายอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น ผลการเรียนแย่ลง และเติบโตช้ากว่าวัย

จะรู้ได้ยังไงว่านอนกรนแบบไหนควรพบแพทย์ ?

หากท่านมีอาการเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ แนะนำให้ท่านนอนกรน รักษารับเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาต่อไป

  • หากท่านมีอาการปวดศีรษะหลังตื่นนอนตอนเช้า มีความอ่อนล้ารู้สึกไม่สดชื่นและต้องการที่จะนอนต่อ หรือรู้สึกว่าตัวเองนอนหลับไม่เต็มอิ่ม มีความรู้สึกเหมือนกับว่าไม่ได้นอนมาทั้งคืน
  • ในขณะที่ทำงาน เรียน หรือเข้าที่ประชุมในตอนกลางวันนั้นจะมีอาการง่วงนอนหรือเผลอหลับ
  • ในขณะที่นอนหลับนั้นจะมีอาการละเมอ ฝันร้าย หรือมีอาการกระสับกระส่ายขณะหลับ
  • ขณะที่นอนหลับนั้นอาจมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก หรือในบางครั้งอาจมีอาการคล้ายสำลักน้ำลายขณะหลับ
  • มีอาการหายใจแรง หรือมีอาการนอนสะดุ้งตื่น เหมือนขาดอากาศหลังจากหยุดหายใจ
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • จะมีอาการง่วง ขาดสมาธิ ทำให้การทำงานหรือผลการเรียนแย่ลง
  • มีอาการสมรรถภาพทางเพศลดลง

จะรู้ได้อย่างไรว่าการนอนของตัวเองมีปัญหา ในผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองมีปัญหาในด้านการนอน ซึ่งก็ต้องอาศัยคนใกล้ชิดที่จะต้องคอยสังเกตว่ามีอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ และหากมีอาการควรมาตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  • แพทย์จะทำการตรวจลักษณะทั่วไปของคนไข้ที่อาจทำให้เกิดอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เช่น คอสั้น น้ำหนักมากเกิน มีความผิดปกติในลักษณะโครงสร้างของใบหน้า
  • แพทย์จะทำการตรวจโพรงจมูก และตรวจหลังโพรงจมูก ตรวจช่องปาก คอหอย เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ทอนซิล โคนลิ้น และกล่องเสียง
  • และที่สำคัญมาก ๆ ของการตรวจการนอนกรนนั้นคือ การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ซึ่งเป็นหลักในการวินิจฉัย สามารถบอกได้ว่าเป็นการนอนกรนธรรมดากับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งการตรวจในลักษณะนี้จะบอกถึงความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และคุณภาพของการนอนหลับว่าหลับได้ดีหรือไม่ รวมถึงมีความผิดปกติเกิดขึ้นในขณะนอนหลับหรือไม่

วิธีที่จะทำการรักษาอาการนอนกรนของผู้ที่มีปัญหานอนกรน รักษาจะมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 2 วิธี ดังนี้

รักษาด้วยวิธีไม่ต้องผ่าตัด (Non-surgical treatment)

  • หากผู้เข้ารับการรักษามีน้ำหนักตัวที่มาก แนะนำให้ทำการลดน้ำหนัก
  • แนะนำให้ทำการปรับเปลี่ยนท่านอน ไม่ควรนอนหงาย เนื่องจากจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าการนอนตะแคง
  • ก่อนที่จะทำการนอนแนะนำให้หลีกเลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่นยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ยานอนหลับ
  • หากท่านเป็นผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่รุนแรง การใส่เครื่องมือในช่องปากที่มีลักษณะเหมือนฟันยางก็เพื่อเป็นการป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
  • หากเป็นผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับสามารถช่วยได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการนี้จะไม่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัด

รักษาโดยการผ่าตัด (Surgical treatment)

ในการผ่าตัดนั้นจะเป็นการเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น ซึ่งการผ่าตัดนั้นแต่ละวิธีก็จะให้ผลลัพธ์ที่ไม่เท่ากัน โดยการผ่าตัดมีวิธีใดบ้าง มาดูกัน

  • ในกรณีที่มีต่อมทอนซิลหรือดีนอยด์โตมากจะไปอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์นั้นจะช่วยได้มาก
  • การผ่าตัดจมูกเพื่อที่จะให้จมูกที่บวมยุบลงด้วยการใช้คลื่นวิทยุดความถี่สูงในการจี้จมูก และอีกหนึ่งวิธีคือการผ่าตัดผนังกั้นจมูกที่คดจนทำให้หายใจไม่ออก
  • การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน เป็นการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ออก เหมาะในกรณีที่มีปัญหาเรื่องลิ้นไก่และเพดานอ่อนหย่อนยานจนอุดกั้นทางเดินหายใจ
  • ในกรณีที่มีโคนลิ้นโตจนไปทำการอุดกั้นทางเดินหายใจ การผ่าตัดโคนลิ้นด้วยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงจี้บริเวณโคนลิ้นจะช่วยได้
  • วิธีนั้จะได้ผล 95 – 99% เลยทีเดียวเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัดขากรรไกรซึ่งเป็นการรักษาเรื่องของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่การผ่าตัดอาจทำให้โครงใบหน้าเปลี่ยนได้

นอนกรน รักษา หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีอาการนอนกรน ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากเกิดอาการที่รุนแรงจนไปถึงขั้นทำให้ขณะหลับมีการหยุดหายใจนั้น ไม่เป็นผลดีแน่ ผู้ที่มีอาการนอนกรนควรเข้ารับการรักษาทันที เพื่อที่จะได้ไม่เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

transitions-for-women.com

Transitions-for-Women.com

เสริมคาง ด้วยซิลิโคน ทำหน้าเรียว ศัลยกรรม คางสวย ศัลยกรรมเสริมคาง ด้วยซิลิโคน ช่วยให้ใบหน้าดูยืดยาวขึ้นเล็กน้อย ทำให้ดูดี